กระทรวงดีอี – ดีป้า ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ติดตามโครงการสำคัญ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ค้าขายดีขึ้นด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ – โซลูชันกระทรวงดีอี – ดีป้า ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ติดตามโครงการสำคัญ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ค้าขายดีขึ้นด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ – โซลูชัน
กระทรวงดีอี – ดีป้า ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ติดตามโครงการสำคัญ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ค้าขายดีขึ้นด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ – โซลูชัน
วานนี้ (30 กรกฎาคม 2567), จังหวัดเชียงใหม่ – กระทรวงดีอี และ ดีป้า ลงพื้นที่เมืองเชียงใหม่ เพื่อตรวจติดตามกิจกรรมของโครงการสำคัญตามแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของกระทรวง พร้อมร่วมพูดคุยกับผู้ประกอบการท้องถิ่น และพ่อค้าแม่ขายในจังหวัดเชียงใหม่
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมพบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการท้องถิ่นและอินฟลูเอนเซอร์ในกิจกรรม ‘Digital Content-Driven E-Commerce Workshop: การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลคอนเทนต์’ กิจกรรมต่อยอดความสำเร็จของโครงการ CONNEXION โดยมี ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และ ดร.สักกเวท ยอแสง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล พร้อมทีมงานร่วมให้การต้อนรับ
นายประเสริฐ กล่าวว่า จากการหารือกับผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรค
ทั้งการปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ ความรวดเร็วของเทคโนโลยี ตลอดจนกลยุทธ์การขายที่ยังไม่เท่าทันสินค้าประเภทอื่น รวมถึงปริมาณการผลิตที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ในนามของ กระทรวงดีอี โดย ดีป้า มุ่งให้ความสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสินค้าและชุมชน อีกทั้งส่งเสริมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการเพื่อสร้างโอกาส
ทางการตลาด รองรับช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในตลาดใหม่ ๆ ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมระบบนิเวศดิจิทัล ผสานกับแนวทางการส่งเสริมจากทางภาครัฐ เพื่อช่วยยกระดับธุรกิจและสินค้าชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ CONNEXION คือโครงการส่งเสริมการยกระดับองค์ความรู้และชุดทักษะด้านดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการชุมชนที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการภายในจังหวัดและพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์ม
E-Commerce อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ เทคนิคการถ่ายภาพสินค้า
การสร้าง Storytelling การ Live ขายสินค้า การเปิดร้านค้าใน Social Commerce อย่าง TikTok และ Facebook รวมถึงการนำข้อมูลการค้าออนไลน์จาก e-Marketplace ของไทยจากแพลตฟอร์ม eTailligence มาประยุกต์ใช้วางแผนประกอบการตัดสินใจด้านการตลาด ทั้งหมดเพื่อผลักดันสินค้าและบริการท้องถิ่นสู่โลกออนไลน์ ก่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ทั้งในด้านคุณภาพและความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นการสร้าง Content Creator และ Micro Influencer หน้าใหม่ให้กับท้องถิ่น
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี ยังให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม ‘ตลาดต้นแบบต่อยอดสู่
ความยั่งยืน’ ณ กาดวรุณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ กิจกรรมภายใต้โครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ (ขยายผล) โดยมี นายจุลนภ ศานติพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ ดีป้า พร้อมทีมงาน และ นายวรพรรธน์ ชุติมา ผู้บริหารกาดวรุณ ร่วมให้การต้อนรับ
นายประเสริฐ กล่าวว่า กระทรวงดีอี โดย ดีป้า ได้ดำเนินโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดอาวุธดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ซึ่งถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากที่มีความสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ
พร้อมพัฒนาสู่การแข่งขันรูปแบบใหม่ โดยโครงการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจและการค้าขาย นำไปสู่การสร้างตลาดต้นแบบที่มีการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัล และสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับประเทศ
สำหรับกิจกรรม ‘ตลาดต้นแบบต่อยอดสู่ความยั่งยืน’ ภายใต้โครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ (ขยายผล) เป็นการติดตามและประเมินผลการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากดิจิทัลสตาร์ทอัพไทย
แก่ผู้ประกอบการตลาด ผู้ประกอบ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอยผ่านบัญชีบริการดิจิทัล ควบคู่กับการลงพื้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจ สร้างช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายจากการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ และโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ (ขยายผล) ดำเนินการใน 75 ตลาด 25 จังหวัด รวมกว่า 100,000 แผงค้า
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี พร้อมคณะได้ร่วมพบปะพ่อค้าแม่ค้าและเจ้าของตลาดอื่น ๆ
เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยกาดวรุณถือเป็นแหล่งรวมร้านค้า ร้านอาหารหลากหลายรูปแบบ มีทำเลที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว
ซึ่งกาดวรุณได้เลือกใช้ Chaoperty ระบบบริหารจัดการแผงเช่า เทคโนโลยีดิจิทัลจาก ‘เช่าเพอร์ตี้’ ดิจิทัลสตาร์ทอัพจังหวัดเชียงใหม่ที่ขึ้นทะเบียนกับ ดีป้า เพื่อยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่เช่าในตลาด และเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการด้านบัญชี อีกทั้งขับเคลื่อนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ส่งเสริมการขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นตลาดต้นแบบในพื้นที่ภาคเหนือต่อไป